https://blog.eduzones.com/moobo/134814 ได้รวบรวมวิธีการสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart
Method) ไว้ดังนี้
แฮร์บาร์ต Herbart Method เป็นปรัชญาการศึกษาชาวเยอรมัน และเป็นผู้ริเริ่มการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
โดยเขาเชื่อว่าการที่นักเรียนจะเรียนรู้สิ่งใดๆได้นั้น
เบื้องหลังต้องมาจากความสนใจของเขาเป็นที่หนึ่ง
ฉะนั้นครูผู้สอนต้องเร้าความสนใจของนักเรียนก่อนที่ขั้นตอนของการสอน
วิธีการสอนแบบแฮร์บาร์ต มีจุดมุ่งหมายก็เพื่อดึงดูดให้นักเรียนนั้นเกิดการเรียนรู้จากความสนใจ
สร้างความสามารถให้พวกเขารู้จักการเชื่อมโยงความรู้เก่าและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน
และสอนให้นักเรียนรู้จักจัดลำดับความรู้จากง่ายไปหายาก
และจากความจริงทั่วไปไปสู่หลักเกณฑ์หรือข้อสรุป
ขั้นตอนของการสอนแบบวิธีแฮร์บาร์ตมีอยู่ด้วยกัน
5 ข้อหลักๆ ดังต่อไปนี้
- ขั้นเตรียม
เป็นขั้นตอนของการเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่
ครูผู้สอนจะต้องทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนให้ประสานกับความรู้ใหม่
- ขั้นสอน เป็นขั้นตอนที่ครูดำเนินการสอน
เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้
- ขั้นสัมพันธ์ ทบทวนหรือเปรียบเทียบ
หลังจากสอนครูต้องหมั่นทบทวน และสัมพันธ์ความรู้ทั้งเก่าและใหม่ ด้วยการวิเคราะห์
เปรียบเทียบความแตกต่าง และคล้ายคลึงให้กับนักเรียน
- ขั้นตั้งกฎหรือข้อสรุป
ขั้นนี้ครูและนักเรียนต้องช่วยกัน จัดลำดับความรู้จากง่ายไปหายากอย่างเป็นระบบ
และจดบันทึกไว้
- ขั้นการนำไปใช้
เป็นขั้นที่นักเรียนจะนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ข้อดีของวิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต
จะประกอบไปด้วย
- นักเรียนจะได้เรียนรู้จากความสนใจ
- การเรียนรู้จะดำเนินจากง่ายไปหายากตามลำดับ
-
ครูและนักเรียนเป็นผู้สร้างกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปร่วมกัน
http://www.neric-club.com/data.php?page=17&menu_id=76 ได้รวบรวมวิธีสอนแบบแฮร์บาร์ตไว้ดังนี้
วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ตเป็นไปตามแนวคิดของแฮร์บาร์ต
ที่ว่า การที่นักเรียนจะเรียนรู้สิ่งใดนั้นนักเรียนจะต้องสนใจเป็นเบื้องแรก
ครูผู้สอนจำเป็นต้องเร้าความสนใจของนักเรียนก่อนเข้าสู่ขั้นของการสอนเพื่อให้เกิดเรียนรู้
ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบแฮร์บาร์ต
1. เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการสนใจ
2.
เพื่อฝึกในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เก่าและความรู้ใหม่ที่ได้รับ
3.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถจัดลำดับความรู้จากง่ายไปหายากปละจากความจริงทั่วไปไปสู่หลักเกณฑ์หรือข้อสรุป
ขั้นตอนของการวิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต
1. ขั้นเตรียม
เป็นขั้นตอนของการเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่
ครูจะต้องทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนให้ประสานกับความรู้ใหม่
2. ขั้นสอน
เป็นขั้นตอนที่ครูดำเนินการสอนเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ตามบทเรียน
3.
ขั้นสัมพันธ์หรือขั้นทบทวนและเปรียบเทียบ
เป็นขั้นตอนต่อจากการสอนของครูเมื่อครู
สอนจบบทเรียนแล้ว
ครูต้องทบทวนความรู้ที่นักเรียนเรียนไปแล้ว และนำความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับความรู้เดิมด้วยการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างและคล้ายคลึงกันระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
4. ขั้นตั้งกฎหรือข้อสรุป
เป็นขั้นที่นักเรียนเข้าใจบทเรียนกว้างขึ้น
ครูและนักเรียนจะต้องช่วยกันรวบรวมความรู้จากขั้นตอนที่ 1-4 ตามลำดับจากง่ายไปหายากอย่างเป็นระบบ
และจดบันทึกไว้
5.ขั้นการนำไปใช้
เป็นขั้นตอนที่นักเรียนนำเอาความรู้ความเข้าใจที่ได้เรียนมาแล้วไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือใช้ในสถานการณ์อื่น
ข้อดีของวิธีสอนแฮร์บาร์ต
1.นักเรียนได้เรียนรู้จากความสนใจ
2.การเรียนรู้ดำเนินไปจากง่ายไปหายากตามลำดับ
3.การสร้างกฏเกณฑ์หรือข้อสรุปกระทำโดยนักเรียนและครู
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต
1.ในขั้นของการสัมพันธ์หรือทบทวนและเปรียบเทียบ
ครูต้องให้โอกาสนักเรียนในการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและคล้ายคลึงกันระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยตนเองมิใช่เกิดจากการแนะนำของครู
2.ครูควรเน้นย้ำให้นักเรียนจดบันทึกความรู้ตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายาก
สรุปวิธีการสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart
Method)
แนวคิดของแฮร์บาร์ตคือการที่นักเรียนจะเรียนรู้สิ่งใดนั้นนักเรียนจะต้องสนใจเป็นเบื้องแรก
ครูผู้สอนจำเป็นต้องเร้าความสนใจของนักเรียนก่อนเข้าสู่ขั้นของการสอนเพื่อให้เกิดเรียนรู้
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการสนใจ
2. เพื่อฝึกในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เก่าและความรู้ใหม่ที่ได้รับ
3.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถจัดลำดับความรู้จากง่ายไปหายากปละจากความจริงทั่วไปไปสู่หลักเกณฑ์หรือข้อสรุป
ขั้นตอนของการวิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต
1. ขั้นเตรียม เป็นขั้นตอนของการเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ครูจะต้องทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนให้ประสานกับความรู้ใหม่
2. ขั้นสอน เป็นขั้นตอนที่ครูดำเนินการสอนเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ตามบทเรียน
3. ขั้นสัมพันธ์หรือขั้นทบทวนและเปรียบเทียบ เป็นขั้นตอนต่อจากการสอนของครูเมื่อครู
สอนจบบทเรียนแล้ว ครูต้องทบทวนความรู้ที่นักเรียนเรียนไปแล้ว และนำความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับความรู้เดิมด้วยการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างและคล้ายคลึงกันระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
4. ขั้นตั้งกฎหรือข้อสรุป เป็นขั้นที่นักเรียนเข้าใจบทเรียนกว้างขึ้น ครูและนักเรียนจะต้องช่วยกันรวบรวมความรู้จากขั้นตอนที่ 1-4 ตามลำดับจากง่ายไปหายากอย่างเป็นระบบ และจดบันทึกไว้
5.ขั้นการนำไปใช้ เป็นขั้นตอนที่นักเรียนนำเอาความรู้ความเข้าใจที่ได้เรียนมาแล้วไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือใช้ในสถานการณ์อื่น
ข้อดีของวิธีสอนแฮร์บาร์ต
1.นักเรียนได้เรียนรู้จากความสนใจ
2.การเรียนรู้ดำเนินไปจากง่ายไปหายากตามลำดับ
3.การสร้างกฏเกณฑ์หรือข้อสรุปกระทำโดยนักเรียนและครู
ข้อสังเกตของวิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต
1.ในขั้นของการสัมพันธ์หรือทบทวนและเปรียบเทียบ ครูต้องให้โอกาสนักเรียนในการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและคล้ายคลึงกันระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยตนเองมิใช่เกิดจากการแนะนำของครู
2.ครูควรเน้นย้ำให้นักเรียนจดบันทึกความรู้ตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายาก
ที่มา : https://blog.eduzones.com/moobo/134814
.วิธีการสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method).เข้าถึงเมื่อ
10 สิงหาคม 2558
http://www.neric-club.com/data.php?page=17&menu_id=76 .วิธีการสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method).เข้าถึงเมื่อ
10 สิงหาคม 2558