สุรพล เอี่ยมอู่ทรัพย์ (http://technology.kku.ac.th/wp-content/ITFilesD/IT001D.pdf )ได้รวบรวมความหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ไว้ดังนี้
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก็คือการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน โดยครูผู้สอนหรือผู้จัดการเรียนรู้ พยายามหารูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่จะให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด การสอนแบบต่าง ๆ โดยครูผู้สอนอธิบายหรือป้อนความรู้ให้ฝ่ายเดียวคงเป็นแบบอย่างหรือแนวทางที่ค่อนข้างเก่าและล้าสมัยไปแล้ว ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้คิดสร้างความรู้ใหม่ ๆ เลยครูผู้สอนมีความรู้แค่ไหนก็ถ่ายทอดให้แค่นั้น ส่วนผู้รียนจะได้แค่ไหนก็สุดแล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน
http://www.sut.ac.th/tedu/news/Mean.html
ได้รวบรวมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน
จึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนใน
หลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้ (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้,2543 :
36-37)
1.การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม ได้แก่ การเรียนรู้แบบสืบค้น แบบค้นพบ
แบบแก้ปัญหา แบบ สร้างแผนผังความคิดแบบใช้กรณีศึกษา
แบบตั้งคำถามแบบใช้การตัดสินใจ
2.เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล ได้แก่ วิธีการเรียนแบบศูนย์การเรียน
แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบชุดกิจกรรมดารเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ประกอบการเรียน เช่น
การใช้สิ่งพิมพ์ ตำราเรียน และแบบฝึกหัดการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
ศูนย์การเรียนชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนสำเร็จรูป
4.เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์ ประกอบด้วย การโต้วาทีกลุ่ม
Buzz การ อภิปราย
การระดมพลังสมอง กลุ่มแกปัญหา กลุ่มติวการประชุมต่าง ๆ การแสดงบทบาทสมมติ
กลุ่มสืบค้นคู่คิดการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น
5.เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ เช่น
การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกม กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลองละคร เกม
กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลอง ละคร บทบาท สมมติ
6.เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ได้แก่
ปริศนาความคิดร่วมมือแข่งขันหรือกลุ่มสืบค้น กลุ่มเรียนรู้ ร่วมกัน ร่วมกันคิด กลุ่มร่วมมือ
7.เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ได้แก่
การเรียนการสอนแบบใช้เว้นเล่าเรื่อง (Story line) และการเรียนการสอนแบบ
แก้ปัญหา (Problem-Solving
จุติมา พรหมศร(https://www.gotoknow.org/posts/427451) ได้รวบรวมรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังน
จุติมา พรหมศร(https://www.gotoknow.org/posts/427451) ได้รวบรวมรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังน
การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2544 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 มาตรฐานการศึกษาและแนวคิดการปฏิรูปการศึกษานั้นกำหนดให้ผู้สอนจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย
เหมาะสมกับธรรมชาติและสนองความต้องการ ความสนใจ
ความถนัดของผู้เรียน ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
มีการจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา
การที่ผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับหลักการหรือวิธีการที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้นนั้น
ผู้สอนจำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการสอน วิธีการสอน
เทคนิคการสอนหรือวิธีจัดการเรียนรู้แบบต่างๆ
ก่อนที่จะนำไปเขียนแผนการเรียนรู้
ซึ่งข้าพเจ้าใคร่นำเสนอรูปแบบการสอนซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าวข้างต้น 5
รูปแบบดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์(Concept Mapping
Technique)
ความหมาย
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนนำมโนทัศน์ในเนื้อหาสาระที่ได้เรียนรู้มาจัดระบบ
จัดลำดับ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์แต่ละมโนทัศน์ที่มีความเกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน
ทำให้เกิดกรอบมโนทัศน์ขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้จักสังเกต เปรียบเทียบ
สรุปและจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จัดเป็นระบบหรือหมวดหมู่ได้อย่างถูกต้อง ฝึกให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า
คิดเพื่อให้ได้ความรู้และสามารถสร้างความคิดรวบยอดด้วยตนเอง
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างและสรุปความรู้ด้วยการจัดกรอบมโนทัศน์รูปแบบต่างๆ
ได้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตรวจสอบมโนทัศน์พื้นฐาน
ผู้สอนตรวจสอบมโนทัศน์พื้นฐานของผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้
ซึ่งอาจทำได้โดยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหรือตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบ
ขั้นระบุมโนทัศน์พื้นฐานที่ผู้เรียนขาด ซึ่งผู้สอนจะต้องระบุมโนทัศน์พื้นฐานที่ผู้เรียนขาดให้ชัดเจน
ขั้นเสริมมโนทัศน์พื้นฐานให้นักเรียน
ในกรณีที่นักเรียนยังขาดมโนทัศน์พื้นฐาน ผู้สอนจะต้องเสริม
ซึ่งจะใช้วิธีการอธิบายโดยใช้สื่อต่างๆ ประกอบก็ได้
ขั้นเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้
4.1
ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและระบุมโนทัศน์ที่สำคัญจากบทเรียน
ผู้สอนช่วยอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจชัดเจนขึ้น
4.2
ผู้เรียนจัดลำดับมโนทัศน์จากกว้างไปยังมนโนทัศน์รอง
จนกระทั่งถึงมโนทัศน์ที่เฉพาะเจาะจง
4.3
ผู้เรียนจัดมโนทัศน์ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
4.4 ผู้เรียนเชื่อมโยงมโนทัศน์ต่างๆ
เข้าด้วยกัน
5.ขั้นสรุปด้วยกรอบมโนทัศน์ ประกอบด้วย
5.1 เลือกกรอบมโนทัศน์ตัวอย่าง
5.2 ผู้เรียนนำเสนอ
5.3 ผู้เรียนช่วยกันวิจารณ์
5.4 ร่วมกันให้คะแนน
5.5 ผู้สอนเสนอกรอบมโนทัศน์
5.6
ผู้เรียนและผู้สอนช่วยกันสรุป
6.
ขั้นการประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้
2.การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์(Synectics Method)
ความหมาย
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนและการคิดร่วมกันเป็นกลุ่ม
จัดกระบวนการเรียนรู้ตามลำดับขั้นที่กำหนดไว้
โดยอาศัยกระบวนการเปรียบเทียบ
จึงจะสามารถเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนแต่ละคนและของกลุ่มได้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานที่แปลกใหม่
เป็นการคิดที่อิสระในหลายๆ วิธีเพื่อฝึกความกล้าในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมือนคนอื่น
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
1. ขั้นบรรยายสถานการณ์ปัจจุบัน
ผู้สอนบรรยายถึงสถานการณ์หรือหัวข้อที่น่าสนใจหรือที่ผู้เรียนกำลังสนใจ
หลังจากนั้นให้ผู้เรียนทบทวนลักษณะความแตกต่าง ให้ผู้เรียนเห็นถึง ความแปลกใหม่
โดยผู้สอนกระตุ้นด้วยคำถามนำ
2. ขั้นการเปรียบเทียบทางตรง
เป็นการเปรียบเทียบระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า
เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นปัญหาอีกแนวหนึ่งเพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ
โดยผู้สอนใช้คำถามนำ
3. ขั้นเปรียบเทียบกับตนเอง
เป็นการนำตนเองไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น
ซึ่งผู้เรียนต้องทำตนเหมือนสิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบและบรรยายความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อตนเองเป็นสิ่งนั้น
เพื่อให้เกิดความคิดแปลกใหม่
โดยผู้สอนเป็นคนตั้งคำถาม
4. ขั้นการเปรียบเทียบโดยใช้คำคู่ที่ความหมายขัดแย้งกัน โดยนำคำจากการที่ผู้เรียนเอาตนเองไปเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆ
ในขั้นตอนที่ 3
เมื่อผู้เรียนได้เลือกคำที่มีความหมายขัดแย้งกันแล้วผู้สอนให้ผู้เรียนเลือกคำที่มีความหมายขัดแย้งหรือตรงข้ามกันมากที่สุด
5. ขั้นเปรียบเทียบทางตรง
โดยผู้สอนย้อนกลับมาใช้วิธีการเปรียบเทียบทางตรงอีกครั้ง
โดยใช้คำที่มี่ความหมายขัดแย้งกันที่ผู้เรียนได้เลือกไว้ในข้อ 4 มาเป็นหลัก
6. ขั้นสำรวจงานที่ต้องทำอีกครั้ง
ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบแล้วผู้สอนนำไปสู่ปัญหาเริ่มแรก
ซึ่งผู้สอนจะต้องอธิบายหรือตั้งคำถามนำ
3. การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้(Constructivism)
ความหมาย
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ของตนเอง
โดยให้ผู้เรียนได้ศึกษา คิด ค้นคว้า ทดลอง ระดมสมอง ศึกษาจากใบความรู้
สื่อหรือแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งมักจะมีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นกับความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว
โดยผู้สอนจะเป็นผู้ช่วยเหลือ มีการตรวจสอบความรู้ใหม่
ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการตรวจสอบกันเอง ระหว่างกลุ่ม หรือผู้สอนช่วยเหลือในการตรวจสอบความรู้ใหม่
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยการศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
จากสื่อการเรียนหรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ขั้นปฐมนิเทศ
ผู้เรียนสร้างจุดมุ่งหมายและแรงดลใจในการเรียนรู้ในเนื้อหาที่กำหนด
ขั้นทำความเข้าใจ ผู้เรียนปรับแนวคิดปัจจุบันหรือบรรยายความเข้าใจของตนเองในหัวข้อที่กำลังเรียน
โดยการทำกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การอภิปรายกลุ่ม
เขียนผังความคิด
การเขียนสรุปความคิด ฯลฯ
ขั้นจัดโครงสร้างแนวคิดใหม่ เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ โดยประกอบด้วย
3.1
การช่วยผู้เรียนสร้างสรรค์ความรู้ ความเข้าใจใหม่ โดยผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดใหม่
หรือสร้างความคิดรวบยอดที่ยังไม่สมบูรณ์ขึ้นใหม่
ผู้สอนจะวินิจฉัยความเข้าใจผิดของผู้เรียน
ซึ่งสามารถทำได้โดยการสัมภาษณ์ ซักถามผู้เรียนโดยตรง
3.2
การเขียนแผนผังความคิดรวบยอด
โดยผู้เรียนจัดความคิดรวบยอดของคำลงไปในโครงสร้างหรือจัดทำเป็นหมวดหมู่
ระบุความคิดรวบยอดที่ต้องการศึกษาตั้งแต่สองความคิดรวบยอดขึ้นไป
สร้างโครงสร้างความรู้ของความคิดรวบยอดเป็นแผนผังความคิดรวบยอด นำความรู้ที่ได้มาอภิปรายร่วมกันเป็นกลุ่มและจัดทำเป็นแผนผังความคิดรวบยอดร่วมกัน
3.3
ตรวจสอบความเข้าใจว่าความคิดรวบยอดได้เกิดการเชื่อมประสานระหว่างกันและจัดระเบียบเป็นโครงสร้างความรู้แล้วหรือยัง
ขั้นนำแนวความคิดไปใช้ ในสถานการณ์ต่างๆ
ที่หลากหลายทั้งที่คุ้นเคยและแปลกใหม่
ขั้นทบทวนหรือเปรียบเทียบความรู้
ผู้เรียนจะสะท้อนตนเองว่าแนวความคิดของตนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก่อนเริ่มเรียนรู้อย่างไร
4. การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT
ความหมาย
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงรูปแบบการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เรียน 4
คุณลักษณะกับพัฒนาการสมองซีกซ้ายและซีกขวาอย่างสมดุล
เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามแบบและความต้องการของตนเองอย่างเหมาะสมและสามารถพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน กับพัฒนาการสมองซีกซ้ายและซีกขวาอย่างเท่าเทียม
เพื่อให้ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความถนัดของผู้เรียนแต่ละประเภทและผู้เรียนมีโอกาสประสบความสำเร็จในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะดี
มีปัญญาและมีความสุขในการเรียนรู้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ส่วนที่ 1 ผู้เรียนแบบที่ 1
ขั้นตอนที่ 1
ขั้นสร้างคุณค่าและประสบการณ์ของสิ่งที่เรียน (สมองซีกขวา)
ผู้สอนกระตุ้นความสนใจและแรงจูงใจให้ผู้เรียนคิด
โดยใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนสังเกต
ออกไปปฏิสัมพันธ์กัยสภาพแวดล้อมจริงของสิ่งที่เรียน
ขั้นตอนที่
2 ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์
(สมองซีกซ้าย)
กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้และสนใจในสิ่งที่เรียน
ผู้สอนให้ผู้เรียนวิเคราะห์หาเหตุผลฝึกทำกิจกรรมกลุ่มอย่างหลากหลาย
ส่วนที่ 2 ผู้เรียนแบบที่ 2
ขั้นตอนที่
3 ขั้นปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด
(สมองซีกขวา)
เน้นให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง นำความรู้ที่ได้มาเชื่อมโยงกับข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้า
โดยจัดระบบการวิเคราะห์ เปรียบเทียบการจัดลำดับความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียน
ขั้นตอนที่
4 ขั้นพัฒนาความคิดรวบยอด
(สมองซีกซ้าย) ผู้สอนใช้ทฤษฏี
หลักการที่ลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ และพัฒนาความคิดรวบยอดของตนเองในเรื่องที่เรียน
ส่วนที่ 3 ผู้เรียนแบบที่ 3
ขั้นตอนที่
5 ขั้นลงมือปฏิบัติจากกรอบความคิดที่กำหนด
(สมองซีกซ้าย)
ผู้สอนให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง
สรุปผลการทดลองที่ถูกต้องชัดเจน
ขั้นตอนที่ 6
ขั้นสร้างชิ้นงานเพื่อสะท้อนความเป็นตนเอง
(สมองซีกขวา)
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างชิ้นงานตามความถนัด ความสนใจ
ที่แสดงถึงความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียน ให้เห็นเป็นรูปธรรมในรูปแบบต่างๆ
ส่วนที่ 4 ผู้เรียนแบบที่ 4
ขั้นตอนที่ 7
ขั้นวิเคราะห์คุณค่าและการประยุกต์ใช้ (สมองซีกซ้าย)
ผู้เรียนวิเคราะห์ชิ้นงานของตนเองโดยอธิบายขั้นตอนการทำงาน
ปัญหาอุปสรรคในการทำงานและวิธีการแก้ไข
โดยบูรณาการการประยุกต์ใช้เพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง/อนาคต
ขั้นตอนที่ 8
ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้กับผู้อื่น (สมองซีกขวา)
ผู้เรียนนำเสนอหรือจัดแสดงผลงานของตนเองในรูปแบบต่างๆ และยอมรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์และข้อคิดเห็นของผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
5. การจัดการเรียนรู้แบบ KWL(Know-Want-Learned)
ความหมาย
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการอ่าน
ซึ่งสอดคล้องกับทักษะการคิดอย่างรู้ตัวว่าตนคิดอะไร มีวิธีคิดอย่างไร
สามารถตรวจสอบความคิดของตนได้ และสามารถปรับเปลี่ยนกลวิธีการคิดของตนเองได้
วัตถุประสงค์
เพื่อฝึกให้ผู้เรียนมีความตระหนักในกระบวนการเรียนรู้ของตนเองโดยมีการวางแผน
ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง
ตลอดจนมีการจัดระบบข้อมูลความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
1. ขั้น K (What you know)
เป็นการเตรียมความรู้พื้นฐานก่อนการอ่าน
เป็นการทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนรู้
ให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตนรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ผู้สอนจะให้ผู้เรียนเรียนรู้
เป็นแผนผังความคิดด้วยตนเอง
2. ขั้น W (What
you want to know)
2.1
การตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่าน
2.2
ผู้เรียนเขียนคำถาม/สิ่งที่อยากรู้
2.3
เรียนรู้หรือหาคำตอบ
3. ขั้น L (What
you have learned) หลังจากการอ่านให้ผู้เรียนเขียนคำตอบที่ได้ลงในกระดาษเปล่ารวมทั้งเขียนข้อมูลอื่นๆ
ที่ศึกษาเพิ่มเติมได้ แต่ไม่ได้ตั้งคำถามไว้
4. ขั้นการเขียนสรุปและนำเสนอ
4.1
ปรับแผนผังความคิดเดิม
4.2 นำเสนอ
สรุปการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน
โดยครูผู้สอนหรือผู้จัดการเรียนรู้
พยายามหารูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป
ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนนำมโนทัศน์ในเนื้อหาสาระที่ได้เรียนรู้มาจัดระบบ
จัดลำดับ และเชื่อมโยงความสัมพันธ์แต่ละมโนทัศน์ที่มีความเกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน
ทำให้เกิดกรอบมโนทัศน์ขึ้น
เทคนิค
วิธีการเรียนรู้ รูปแบบการสอนสามารถจำแนกได้เป็น การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
ประกอบการเรียน เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์ เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MATและการจัดการเรียนรู้แบบ KWL
http://www.sut.ac.th/tedu/news/Mean.html. ความหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2558
จุติมา พรหมศร [Online] . https://www.gotoknow.org/posts/427451 .รูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2558
สุรพล เอี่ยมอู่ทรัพย์ [Online] http://technology.kku.ac.th/wp-content/ITFilesD/IT001D.pdf .สอนอย่างไรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2558
สุรพล เอี่ยมอู่ทรัพย์ [Online] http://technology.kku.ac.th/wp-content/ITFilesD/IT001D.pdf .สอนอย่างไรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2558
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น